จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

นกกาเหว่า หรือ นกดุเหว่า Asian koel

นกกาเหว่า(นกดุเหว่า) Asian Koei ชื่อวิทยาศาสตร์ Eudynamys scolopacea

ลักษณะ
        นกกาเหว่าเป็นนกในวงศ์คัคคู (Cuculidae) มีขนาดใกล้เคียงกับอีกา ลำตัวเพรียวยาว ตาสีแดง หางยาวและแข็ง เท้าจับกิ่งไม้มีลักษณะพิเศษต่างจากนกชนิดอื่น คือสามารถจับกิ่งไม้ได้รอบโดยใช้นิ้วหน้า 2 นิ้ว และนิ้วหลัง 2 นิ้ว ตัวผู้มีสีดำ ปากสีเขียวเทา ส่วนตัวเมียสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นจุดขาวทั่วตัว           

ถิ่นอาศัย อาหาร
        พบตามสวนหรือป่าโปร่งทุกภาคในประเทศไทย นกกาเหว่าชอบกินแมลงต่าง ๆ งูบางชนิด กิ้งก่า จิ้งเหลน กบ เขียด นกเล็ก ๆ และผลไม้บางชนิด




พฤติกรรม การขยายพันธุ์
       นกกาเหว่ามีนิสัยดุ ไม่ชอบเปลี่ยนที่นอน ชอบอยู่เป็นคู่ตัวผู้มีเสียงร้องดังกังวานในตอนใกล้รุ่งหรือใกล้ค่ำ จะร้องมากในฤดูหนาวและฤดูแล้งซึ่งเป็นฤดูผสมพันธุ์ มักจะร้องว่า "กา เว้า" ส่วนตัวเมียไม่มีเสียงร้อง นกชนิดนี้จับคู่ราวต้นเดือนพฤศจิกายน ออกไข่ราวเดือนมีนาคม ออกไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง มักออกไข่ในรังกา ไข่คล้ายไข่นกกามาก ไข่แล้วให้แม่กาฟัก เคยปรากฏพบไข่ในรังกาถึง 8 ฟอง เมื่อไข่ฟักออกมาลูกนกมีสีดำคล้ายกันหมด แต่เมื่อโตขึ้น ลูกนกกาเหว่าตัวผู้มีสีดำเช่นเดิม ส่วนตัวเมียขนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นจุดขาวทั่วตัว


 สภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535